แนะนำผ่าซีสต์ ก้อน ฝี คลินิกใกล้ฉัน อย่างไรดี

ซีสต์ ก้อน ฝี ผ่า

          ก้อนบริเวณผิวหนังที่พบบ่อย คุณหมอได้ทำการรีวิวและแนะนำการรักษา ผ่าตัด รักษา ซีสต์ ก้อน ฝี อย่างไรดี ให้ปลอดภัย หายเร็ว  ถูกวิธี พบว่า

ก้อนบริเวณผิวหนังที่พบบ่อยอาจเกิดจาก ก้อนไขมันใต้ผิวหนัง ติ่งเนื้อบริเวณผิวหนัง ไฝขนาดใหญ่  โดยแบ่งเป็นประเภทดังนี้ค่ะ

          1.ก้อนไขมันใต้ผิวหนัง (Lipoma)

ก้อนไขมันใต้ผิวหนัง หรือ เนื้อบอกไขมันใต้ผิวหนัง เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง เกิดขึ้นบริเวณระหว่างใต้ชั้นผิวหนังและชั้นกล้ามเนื้อ สามารถพบได้ทุกตำแหน่งในร่างกาย เช่น แขน ขา ลำตัว ศรีษะ ใบหน้า แผ่นหลัง ลักษณะก้อนจะแข็งผสมนุ่ม(Ruberry firm) สามารถขยับได้เล็กน้อย(Movable mass) ไม่มีอาการเจ็บ ยกเว้นเป็นแผล หรือ มีการอักเสบติดเชื้อแทรกซ้อน หรือ ตำแหน่งก้อนอยู่บริเวณที่มีการกดทับ ในเรื่องการรักษาใช้วิธีผ่าตัดก้อน และเย็บปิดผิวหนัง ซึ่งคุณหมอผู้เชี่ยวชาญจะทำการฉีดยาชาเฉพาะที่และผ่าตัดแบบแผลเล็กเพื่อการฟื้นตัวที่รวดเร็ว

          2.ก้อนซีสต์ใต้ผิวหนัง(Epidermal cyst หรือ Sebaceous cyst)

ก้อนซีสต์ใต้ผิวหนัง เกิดจากการอุดตันของต่อมไขมันบริเวณใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดถุง(cyst)ที่่ภายในจะมีลักษณะคล้ายชีส หรือ เนย หรือ ไขมันเละๆเหนอะๆ บรรจุอยู่ด้านในถุง หากมีอาการแทรกซ้อนอาจมีลักษณะบวม แดง โตขึ้น ปวดได้ หลายครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นฝีธรรมดา โดยในการรักษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญจะทำการฉีดยาชาเฉพาะที่และผ่าตัดถุงซีสต์ แต่การผ่าตัดมีเทคนิคที่สำคัญคือต้องเลาะถุงซีสต์ออกให้เกลี้ยง เพราะถ้าเลาะไม่เกลี้ยงจะทำให้เกิดซีสต์ขึ้นมาใหม่ได้ในภายหลัง ซึ่งคุณหมอของเราอาจใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า(Electric Cautery) ในการช่วยเลาะผนังของถุงซีสต์ ทำให้เลาะได้เกลี้ยงหมด ส่งผลให้ได้รับผลการรักษาที่ดีกว่า

          3.ฝีบริเวณผิวหนัง(Cutaneous Abscess)

ฝีบริเวณผิวหนังเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยสาเหตุมักเกิดจากการติดเชื้อบริเวณผิวหนังและลุกลามเข้าบริเวณช้นใต้ผิวหนังทำให้เกิดฝีขึ้น ฝีจะทำห้เกิดอากรปวด บวม แดง ร้อน บริเวณผิวหนังที่เป็น หากเป็นฝีเล็กน้อยเมื่อฝีสุกอาจแตกออกและหายเอง แต่บ่อยครั้งพบว่าฝีแตกเองแต่ไม่หมดยังคงมีการอักเสบใต้ผิวหนังอยู่ ซึ่งแพทย์จะให้การรักษาโดยการฉีดยาชาเฉพาะที่และผ่าเจาะฝี ในบางรายอาจต้องใช้เครื่องมือพิเศษช่วย(Curette)ในการขูดเนื้อตายและฝีที่อยู่ภายในออก หลังผ่าเจาะฝีโดยทั่วไปจะไม่เย็บปิดปากแผลเนื่องจากต้องเปิดไว้เป็นที่ระบายหนองและให้ปากแผลค่อยปิดหายด้วยตัวเอง บางครั้งคุณหมออาจใส่ที่ระบายหนองค้างไว้ในแผลระยะหนึ่งจนแน่ใจว่าหนองหมดเกลี้ยงจึงนำที่ระบายหนองออก และให้ปากแผลปิด นอกจากนี้ฝีในบางตำแหน่งจะมีอาการและภาวะแทรกซ้อนสูงกว่าบริเวณอื่นได้แก่ ฝีบริเวณก้นหรือทวารหนัก(Perianal abscess) , ฝีบริเวณรักแร้หรือที่เรียกว่าฝีฝักบัว(Carbuncle) , ฝีบริเวณอวัยวะเพศหญิงหรือฝีบริเวณแคม(Bartholin Abscess) ซึ่งหากปล่อยไว้นานอาจทำให้เกิดผลเสียและอันตรายได้ ควรรีบเข้ามาปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญได้นะคะ

            4.ก้อนเนื้อและติ่งเนื้อบริเวณผิวหนัง

ก้อนเนื้อและติ่งเนื้อบริเวณผิวหนังมีหลายชนิด คุณหมอจะทำการตรวจและวิเคราห์ความเสี่ยงว่ามีโอกาสเป็นเนื้อร้ายมากน้อยเพียงใด หากความเสี่ยงต่ำและไม่มีอาการแทรกซ้อนอาจใช้วิธีสังเกตุและนัดติดตามอาการเป็นระยะ แต่หากดูแล้วว่าไม่ควรรอ    คุณหมอผู้เชี่ยวชาญจะทำการฉีดยาชาเฉพาะที่และผ่าตัดก้อนเนื้อหรือติ่งเนื้อออกและส่งชิ้นเนื้อไปตรวจวิเคราะห์ที่ห้องแลปมาตรฐานสูง เพื่อยืนยันว่าก้อนเนื้อหรือติ่งเนื้อดังกล่าวเป็นเนื้องอกปกติหรือเป็นเนื้อร้าย(มะเร็ง)ค่ะ

 

ผ่า ซีสต์ ก้อน ฝี
ก่อน-หลังผ่าตัดซีสต์

 

ข้อมูลบทความโดย นายแพทย์ มนัสวี สมิตสุวรรณ (แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัว)

ติดต่อสอบถามหรือนัดคิวตรวจ บางจากคลินิกเวชกรรม โทร 094-912-1453 หรือ LINE บางจากคลินิกเวชกรรม