RSV#ตรวจหาเชื้อRSV

RSV

RSV เป็นไวรัสที่ชื่อว่า Respiratory Syncytial Virus เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ทุกวัย โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี หรือ ผู้สูงอายุ จะติดต่อกันได้ง่ายและอาจมีอาการรุนแรง  ส่วนมากตัวเชื้อไวรัสนี้จะลงไปที่หลอดลมฝอย หรือลงไปที่ตัวเนื้อปอด ทำให้เป็นปอดอักเสบ หรือเป็นหลอดลมฝอยอักเสบ สิ่งที่อันตรายที่จะต้องระวัง  เชื้อไวรัส RSV เป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อกันง่าย ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ โดยไวรัสเข้าสู่ร่างกายผ่านทาง ตา จมูก ปาก หรือสัมผัสเชื้อโดยตรงจากการจับมือ แพร่กระจายได้ง่าย ผ่านการไอหรือจาม

ผลเสียจาก RSV ที่กระทบต่อระบบทางเดิมหายใจ

  1. อาจรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบติดเชื้อ
  2. ต้องเข้ารับการรักษาตัวในห้องไอซียู
  3. ระบบหายล้มเหลว ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

เชื้อไวรัส RSV มักจะระบาดช่วงไหน

ช่วงที่ระบาดจะเป็นช่วงฤดูฝน ต่อเนื่องถึงช่วงต้นฤดูหนาว

เมื่อติดเชื้อ RSV จะมีอาการอย่างไร

*  มีไข้สูง 39-40 องศา ติดต่อกันหลายวัน

*  มีน้ำมูก ลักษณะของน้ำมูกจะมีความเหนียวมาก คล้ายกาว

*  ไอเยอะ ไอแบบมีเสมหะมาก

*  หายใจครืดคราด บางรายอาจจะมีอาการหายใจเร็ว หรือหายใจแรง

*  มีอาการหอบเหนื่อย

*  บางรายเด็กอาจจะปากหรือตัวซีดเขียว ซึ่งเป็นภาวะที่ควรต้องรีบไปพบแพทย์โดยทันที

ความรุนแรงของ RSV ขึ้นกับอะไร

  1. อายุ
  2. โรคประจำตัว
  3. ภาวะเสี่ยง เช่น เด็กที่คลอดก่อนกำหนด ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว

RSV กับไข้หวัดต่างกันอย่างไร

RSV คล้ายไข้หวัดธรรมดา แต่แตกต่างกันตรงที่ RSV จะไข้สูง และระยะเวลาในการเป็นจะนานกว่าไข้หวัดธรรมดา อาจจะมีอาการอยู่ที่ 5-7 วัน ไอนาน มีน้ำมูกเยอะ มีเสมหะมากกว่าเป็นไข้หวัดธรรมดา ซึ่งสิ่งที่น่ากังวลคือ ในเด็กหรือผู้สูงอายุหากมีน้ำมูกเยอะ หรือเสมหะเยอะ บางครั้งไม่สามารถเอาออกเองได้ จะมีอาการหายใจลำบาก

ทำอย่างไรไม่เป็น RSV

  1. หากต้องออกนอกบ้าน  ควรใส่หน้ากากอนามัยให้เป็นนิสัย นอกจากจะป้องกันเชื้อไวรัส RSV ได้แล้ว ยังสามารถป้องกัน COVID19 ฝุ่น 5 และโรดติดเชื้อต่างๆ ได้อีกด้วย น
  2. ระมัดระวังเรื่องความสะอาด และป้องกันการติดเชื้อ ก่อนจะให้ใครจับตัวเด็ก ควรให้ล้างมือ ฟอกสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ใหญ่ที่ไปทำงานนอกจาก อาจจะเป็นพาหะที่นำเชื้อจากนอกบ้านมาติดเด็กได้ เพราะฉะนั้นเมื่อออกไปนอกบ้านก่อนจับตัวหรือเล่นกับลูกหลาน ควรอาบน้ำให้สะอาด
  3. หลีกเลี่ยงอย่าคลุกคลี กับคนที่มีอาการหวัด ไอ จาม หรือมีน้ำมูก ควรอยู่ห่างประมาณ 90 ซม.
  4. ทำความสะอาดของเล่น หรือคอกเล่น หรือที่นอนของลูกบ่อย ๆ
  5. หลีกเลี่ยงไม่ไปสถานที่แออัด เน้นพาไปสถานที่โล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก หลีกเลี่ยงการจับสิ่งของสาธารณะต่าง ๆ หากจับต้องรีบล้างมือ
  6. หลีกเลี่ยงสถานทีที่เป็นจุดเสี่ยงที่ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย เช่น เนอสเซอรี่ แหล่งที่มีเด็กอยู่รวมกันหลาย ๆ คน เช่น บ้านบอล หรือสนามเด็กเล็น ถ้าช่วงเป็นช่วงที่โรคนี้ระบาด ก็ควรหลีกเลี่ยง
  7. ให้ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่
  8. ให้กินอาหารที่ดี มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ
  9. ถ้าป่วยควรให้หยุดเรียนหรทอหยุกงาน
  10. สังเกตอาการ หากมีไข้สูง หายใจลำบาก มีน้ำมูก หรือเสมหะมากผิดปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที

การรักษาเมื่อเป็น RSV

ปัจจุบันยังไม่มียาหรือวัคซีนที่จะรักษา RSV ที่โดยตรง คุณหมอจะรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ แก้ไข ละลายเสมหะ หรือบางรายที่มีเสมหะเหนียวมาก อาจต้องพ่นยาขยายหลอดลมผ่านทางออกซิเจนละอองฝอย เคาะปอด และดูดเสมหะออก เพื่อช่วยลดความรุนแรงของอาการไอ และอาการหายใจหอบเหนื่อยได้ นอกจากนี้แนะนำให้ดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เสมหะเหนียวและเชื้อไวรัสจะได้ไม่ลงปอด

การตรวจหาเชื้อ RSV

เชื้อไวรัส RSV สามารถตรวจได้ด้วยการ Swab หลังโพรงจมูก และทำการทดสอบหาเชื้อ RSV ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 15-20 นาที ก็สามารถรู้ได้ว่าติดเชื้อ RSV หรือไม่

#ตรวจหาเชื้อRSV#บางจากคลินิกเวชกรรม ยินดีให้บริการค่ะ

RSV

สอบถามหรือนัดจองคิว โทร 094-912-1453 หรือ LINE @537bogao