รักษานิ้วล็อค แบบสะกิด ไม่ต้องผ่าตัด

สะกิดนิ้วล็อค ดีอย่างไร

ก่อนจะอธิบายเรื่องการรักษาแบบ สะกิดนิ้วล็อค เรามาทำความรู้จักโรคนี้กันก่อน โรคนิ้วล็อคในระยะเริ่มแรกจะมีอาการ ปวดบริเวณนิ้วมือหรือฝ่ามือ บางรายอาจมีอาการ บวมบริเวณนิ้ว หากมีอาการมากขึ้นจะทำให้มีอาการสะดุดเวลางอนิ้ว เหยียดนิ้ว หรือ กำมือได้ไม่สุด สาเหตุเกิดจาก การใช้มือทำงานต่างๆสะสมเป็นเวลานาน เช่น หิิ้วของโดยใช้นิ้วเกี่ยว การซักผ้าและบิดผ้า การกวาดและถูบ้าน การประกอบอาหาร  การเล่นกีฬากอล์ฟ แบดมินตัน เทนนิสหรือ ได้รับการกระทบกระแทกบริเวณฝ่ามือ      นอกจากนี้ในปัจจุบันการเข้าสู่สังคมดิจิตอล เป็นอีกสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้บ่อยขึ้น เช่น การใช้เมาส์คอมพิวเตอร์ การใช้คีย์บอร์ด การใช้นิ้วเพื่อใช้งาน Smart Phone และ Tablet

 โรคนิ้วล็อคมีกี่ระดับความรุนแรง  

 ระดับที่ 1 เริ่มมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ อาจรู้สึกตึงบริเวณนิ้วมือ หรือรู้สึกกำนิ้วไม่ค่อยถนัด

 ระดับที่ 2 มีอาการสะดุดเวลางอ หรือ เหยียดนิ้ว มักมีอาการมากช่วงเช้าหลังตื่นนอน พอช่วงสายๆอาการมักดีขึ้น แต่ถ้าอาการเริ่มเป็นมากอาจมีอาการสะดุดทั้งวัน             

 ระดับที่ 3 ผู้ป่วยจะไม่สามารถเหยียดนิ้วได้ หรือ บางรายไม่สามารถงอหรือกำนิ้วให้สุดได้ ต้องใช้มืออีกข้างช่วยเหยียดหรืองอนิ้ว

 ระดับที่ 4 มีอาการล็อคของนิ้ว คือ ไม่สามารถเหยียดนิ้วได้ หรือ บางรายไม่สามารถงอหรือกำนิ้วให้สุดได้ ตลอดเวลา แม้ว่าจะใช้มืออีกข้างช่วยก็ยังไม่สามารถเหยียดหรืองอนิ้วได้

 

  การรักษานิ้วล็อคมีกี่แบบ 

 1.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม                                                                                                                       

คือการลด งด หรือพักการใช้งาน อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ ในบางกรณีอาจใช้ปลอกพยุงนิ้ว เพื่อลดการเคลื่อนไหวของนิ้ว การรักษาวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มมีอาการของนิ้วล็อคได้แก่ความรุนแรงระดับที่ 1

  2.รับประทานยาลดอาการปวดอักเสบชนิด NSAID                                                                                                    

ตัวยาชนิด NSAID จะลดการอักเสบ และอาการปวดของโรคนิ้วล็อค ได้ผลดีในผู้ที่มีอาการนิ้วล็อคในระดับที่ 1   

  3.ทำกายภาพบำบัด
       การทำกายภาพบำบัดใช้หลักการ ให้ความร้อนแก่นิ้วมือเพื่อยืดหรือคลายเส้นเอ็นและบรรเทาอาการปวด โดยใช้วิธีต่างๆเช่น แช่มือใน พาราฟิน ร้อน , การใช้คลื่นความร้อนจาก  Ultrasonic  wave , การใช้ความร้อนจากเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า , การประคบอุ่น

ซึ่งการกายภาพบำบัดจะได้ผลดีในผู้ที่มีอาการนิ้วล็อคไม่มาก ได้แก่นิ้วล็อคระดับ 1 ส่วนผู้ที่มีอาการ  นิ้วล็อค ระดับ 2 จะได้ผลเพียงบางราย

   4.การฉีดยาเฉพาะที่                                                                                                                         

       การฉีดยาเฉพาะที่คือการฉีดยาบริเวณตำแหน่งโคนนิ้วของนิ้วที่มีอาการล็อค การรักษาวิธีนี้ได้ผลดีในผู้ที่มีอาการในระดับที่1 และ ระดับที่ 2  แต่อาจมีข้อด้อยคือผู้ป่วยบางรายอาจมี  อาการกลับเป็นซ้ำหลังฉีดยาเฉพาะที่แล้วมามากกว่า 3 เดือน และการฉีดยาเฉพาะที่ซ้ำๆ ในระยะเวลาอันใกล้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับเส้นเอ็นหรือผิวหนังบริเวณนิ้วที่ฉีดได้                                                                                                                                                                                                                                               

    5.ผ่าตัดแบบมาตรฐาน(แบบดั้งเดิม)
          การรักษาวิธีนี้แพทย์ต้องการทำการผ่าตัดในห้องผ่าตัด เริ่มจากการทำความสะอาดผิวหนัง ฉีดยาชา ลงมีดผ่าตัดเพื่อเปิดชั้นผิวหนัง เลาะตัดปลอกหุ้มเอ็น เย็บปิดชั้นผิวหนัง โดยผู้ป่วยต้องทำแผลทุกวัน ห้ามสัมผัสน้ำ และแพทย์จะนัดตัดไหมเย็บ เมื่อครบ 7 วัน

การรักษาวิธีนี้ได้ผลดีในผู้ที่มีอาการในระดับที่2  ระดับที่ 3 และระดับที่ 4 ดังนั้นการรักษาวิธีนี้มีข้อด้อยในเรื่อง ขั้นตอนการรักษาที่มาก ต้องใช้เวลาพอสมควรในการผ่าตัด ต้องดูแลแผลหลังผ่าตัด และต้องใช้ระยะเวลาฟื้นตัวในระดับหนึ่งเนื่องจากเป็นการผ่าตัดแบบเปิดชั้นผิวหนัง                                         

   6.สะกิดนิ้วล็อค(แบบทางเลือกใหม่) 

การรักษาวิธีนี้สามารถทำการรักษาได้ในแผนกผู้ป่วยนอก(OPD) โดยแพทย์จะทำการรักษาในห้องสะอาด(Clean Room) เริ่มจากการทำความสะอาดผิวหนัง ฉีดยาชาด้วยเข็มขนาดเล็ก บริเวณผิวหนัง แพทย์ใช้เครื่องมือพิเศษเจาะรูขนาดเล็กประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เพื่อทำการสะกิดนิ้วล็อค ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที      หลังจากนั้นทำการปิดรูแผลขนาดเล็กด้วยวัสดุ    ปิดแผล โดยผู้ป่วยสามารถสัมผ้สน้ำ และดำเนินกิจวัตรประจำวันได้ปกติ

 ราคาและความคุ้มค่าของการสะกิดนิ้วล็อค

การรักษาโรคนิ้วล็อคแบบสะกิด หรือ แบบไม่ต้องผ่าตัด โดยทั่วไปจะมีค่าใช้จ่ายที่ประหยัดกว่าการผ่าตัดแบบเปิดเนื่องจากไม่ต้องทำแผลต่อเนื่อง และ ไม่ต้องตัดไหม รวมทั้งฟื้นตัวเร็วสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติในระยะเวลาไม่นาน

 

 

บทความโดย

นายแพทย์ มนัสวี สมิตสุวรรณ (แพทยศาสตร์บัณฑิตจุฬาฯ)

แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัว

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการสะกิดนิ้วล็อค

18/1/2566

หน่วยงาน บางจากคลินิกเวชกรรม 094-9121453  LINE @537bogao

 

 

https://vt.tiktok.com/ZS8v1Amja/